หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC
By: libraryhub
ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับจากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลาแต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ
OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC) และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา
แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ
ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว
หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดีระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง
ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ
ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศนาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่มแทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการจึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ - - - นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่
ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้สรุปก็ต้องหาใหม่ - - - นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content
แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร
สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรกคงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย
เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุดเพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก
ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับเกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้างว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้
ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด
เรื่องที่ใกล้เคียง
January 30, 2010 -- ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine (0)
January 22, 2010 -- 33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ (2)
January 11, 2010 -- หาหนังสืออ่านเล่นใน Google books search ดีกว่า (0)
January 8, 2010 -- ความทรงจำดีๆ เรื่องเว็บไซต์ห้องสมุดชิ้นแรกของผม (0)
December 28, 2009 -- ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า (4)
December 14, 2009 -- เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 - 2007 (1)
December 3, 2009 -- สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด (3)
September 13, 2009 -- 5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0 (2)
September 8, 2009 -- สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล” (1)
August 27, 2009 -- โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า (8)
การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC ห้องสมุดและบรรณารักษ์ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น